ผลึก - ผลึก นิยาย ผลึก : Dek-D.com - Writer

    ผลึก

    ไอ้เจ้เบนซ์มาเซฟเร็วๆน้า

    ผู้เข้าชมรวม

    8,782

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    8.78K

    ความคิดเห็น


    11

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 ก.พ. 51 / 18:44 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ชนิดของผลึก

                      ผลึก คือ ของแข็งที่มีรูปร่างเฉพาะตัว มีเหลี่ยม มีมุม และผิวหน้าเรียบ ของแข็งที่เป็นผลึกมีหลายชนิดดังนี้

                      1. ผลึกโมเลกุล ผลึกชนิดนี้ประกอบด้วยโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ (แรงลอนดอน หรือแรงดึงดูดระหว่างขั้ว) หรือพันธะไฮโดรเจน ถ้าโมเลกุลในผลึกชนิดนี้เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือแรงแวนเดอร์วาลส์ชนิดแรงลอนดอน เช่น ผลึกแนฟทาลีน น้ำแข็งแห้ง(คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) กำมะถัน ไอโอดีน ถ้าโมเลกุลในผลึกชนิดนี้เป็นโมเลกุลมีขั้ว แรงยึดเหนี่ยวระหว่งโมเลกุล คือแรงดึงดูดระหว่างขั้ว หรือพันธะไฮโดรเจน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์แข็ง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือแรงดึงดูดระหว่างขั้ว(แรงไดโพล-ไดโพล) น้ำแข็ง แอมโมเนียแข็ง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล คือ พันธะไฮโดรเจน เนื่องจากหน่วยย่อยในผลึกประเภทนี้เป็นโมเลกุล และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่แข็งแรง ทำให้ผลึกประเภทนี้มีจุดหลอมเหลวต่ำ เปราะ ไม่นำไฟฟ้า หรืออาจนำได้น้อยมากในบางชนิด บางชนิดระเหิดได้ เช่นไอโอดีน แนพทาลีน

                      2.ผลึกไอออนิก ผลึกชนิดนี้ประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบ ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก (แรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า) เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงมาก ทำให้ผลึกประเภทนี้มีจุดหลอมเหลวสูง แข็งแต่เปราะ ไม่นำไฟฟ้า ต้องหลอมเหลวหรือละลายน้ำจึงนำไฟฟ้าได้ ตัวอย่างผลึกประเภทนี้ เช่น โซเดียมคลอไรด์ ผลึกจุนสี ผลึกสารส้ม

                      3. ผลึกโควาเลนต์แบบโครงผลึกร่างตาข่าย ผลึกชนิดนี้ประกอบด้วยอะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วย พันธะโควาเลนต์แบบต่อเนื่อง ตัวอย่างผลึกประเภทนี้ เช่น เพชร แกรไฟต์ ซิลิคอน ฟอสฟอรัสดำ ควอตซ์ คาร์บอรันดัม เป็นต้น

                      เนื่องจากพันธะโควาเลนต์ระหว่างอะตอมในผลึกชนิดนี้เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงมากจึงทำให้ผลึกชนิดนี้ มีจุดหลอมเหลวสูง มีความแข็งแกร่ง (ยกเว้นแกรไฟต์) เปราะ ไม่ละลายน้ำ บางชนิดนำไฟฟ้าได้คือแกรไฟต์ บางชนิดไม่นำไฟฟ้า เช่น เพชร บางชนิดนำไฟฟ้าได้บ้าง เช่น ซิลิคอน

                      4.ผลึกโลหะ ผลึกชนิดนี้ประกอบด้วยอะตอมยึดเหนี่ยวกัยด้วยพันธะโลหะซึ่งเป็นพันธะที่แข็งแรงมากอีกชนิดหนึ่ง ผลึกชนิดนี้ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี เหนียวสามารถตีแผ่ออกเป็นแผ่นหรือดึงออกเป็นเส้นได้ ผิวหน้ามันวาว โลหะบางชนิดค่อนข้างอ่อนมีจุดหลอมเหลวต่ำ ได้แก่ โลหะอัลคาไลน์ (โลหะหมู่ IA ) เช่น โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K) เป็นต้น

                      ของแข็งบางชนิดไม่มีรูปผลึก เช่น ยาง พลาสติก แก้ว ขี้ผึ้ง กำมะถันในรูปกำมะถันพลาสติก ของแข็งประเภทนี้เรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน (Amorphous solid) อนุภาคภายในของแข็งประเภทนี้มีการจัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ เมื่อแตกหักจะได้ชิ้นส่วนที่ไม่เป้นรูปทรงเรขาคณิต ส่วใหญ่ไม่สามารถหาจุดหลอมเหลวที่แน่นอนได้ สำหรับควอตซ์ (SiO2) เป็นของแข็งผลึก แต่เมื่อทำแก้ว แก้วควอตซ์ที่เป็นของแข็งอสัญฐาน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×